วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โคลา-โคล่า โลกาภิวัตน์แบรนด์ของอเมริกา ตอนที่ 2

กลับมายังเรื่องราวของต้นกำเนิดโค้กกันต่อ หลังจากที่เพมเบอร์ตันได้ทดลองจนได้สูตรที่น่าพอใจแล้ว ก็เป็นไงเป็นกัน จากร้านขายยาก็กลายมาเป็นขายเจ้าน้ำดำชนิดนี้ และในคราวทีจะต้องตั้งชื่อให้กับเจ้าเครื่องดื่มชนิดนี้ เพื่อนสนิทของเขาทางธุรกิจคนหนึ่งคือ แฟรงค์ โรบินสัน (Frank Robinson) ก็ได้เสนอว่า เครื่องดื่มนี้น่าจะมีชื่อว่า โคคา-โคลา ตามชื่อส่วนผสมสำคัญ ซึ่งเหตุผลของเขาก็คือ “อักษรซีทั้งสองตัวคงจะเตะตามากเมื่อปรากฏในโฆษณา”และเขายังเป็นออกแบบโลโก้ให้ด้วย ซึ่งโลโก้นี้ก็ได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน เพียงแต่มีการปรับเปลี่ยนส่วนประดับภายนอกเท่านั้น ตัวอักษรโคคา-โคลายังคงเดิมไว้ทุกประการ
โฆษณาชิ้นแรกของโคคา-โคลานั้น ปรากฏอยู่ในวารสารแอตแลนต้า ฉบับวันที่ 29 พฤษภาคม 1866 เป็นเพียงข้อความสั้นๆ ว่า “โคคา-โคลา เครื่องดื่มรสดี คืนความสดชื่น สดใส ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า เครื่องน้ำพุโซดายอดนิยมตัวใหม่ ที่อัดแน่นด้วยสรรพคุณอันยอดเยี่ยมของใบโคคาและเมล็ดโคลาอันลือชื่อ” นอกจากนั้น ยังแขวนป้ายโฆษณาที่ทำจากผ้าอาบน้ำมันไว้ที่กันสาดหน้าร้านจาค็อปส์ โดยมีการระบุคำว่า "โคคา-โคลา" อยู่และเหนือคำว่า โคคา-โคลา ก็เติมคำว่า "ดื่ม" เพื่อให้คนอ่านทราบว่า มีเครื่องดื่มชนิดใหม่วางขายอยู่ในช่วงปีแรก โคคา-โคลา มียอดขายประมาณ 9 แก้ว ต่อวัน ดร.เพ็มเบอร์ตัน ไม่คิดเลยว่าเครื่องดื่มที่เขาคิดค้นขึ้นจะทำกำไรมากมาย เขาจึง จัดแจงขายหุ้นกิจการโคคา-โคลา ในส่วนของเขาให้ผู้ถือหุ้นคนอื่นๆจนเกือบหมด หลังจากดำเนินการมาได้ไม่นาน และก่อนหน้าที่ ดร.เพ็มเบอร์ตันจะถึงแก่กรรม เพียงไม่กี่ปี เขาก็ขายหุ้นที่เหลืออยู่ทั้งหมดให้กับ อาซา จี. แคนเลอร์ นักธุรกิจ ชาวเมืองแอตแลนต้าผู้มีพรสวรรค์ทางการค้าต่อมา มร.แคนเลอร์ คนนี้เองก็กว้าน ซื้อหุ้นทั้งหมดจนกลายเป็นเจ้าของกิจการ โคคา-โคลา เพียงผู้เดียว
เมื่อได้สิทธิ์เป็นเจ้าของชือและสูตรโคคา-โคลาทั้งหมดมาแล้วด้วยเงินลงทุนเพียง 2,300 ดอลลาร์ แคนเลอร์ก็บริหารธุรกิจไปอย่างไม่หวือหวา และการที่ทำให้โคคา-โคลานั้นขายดียิ่งขึ้น ก็มาจากแนวคิดในการเลิกประโคมสรรพคุณทางการแพทย์ของโคคา-โคลา ซึ่งจะเป็นการจำกัดตลาดไว้ในตัว นับตั้งแต่ปี 1895 เป็นต้นมา การโฆษณาของโคคา-โคลา ก็เน้นไปในทางที่แสดงออกถึงความสดใสแบบคนรุ่นใหม่ ตรงไปตรงมา เช่น “ดื่มโคคา-โคลารสชาติดี คืนความสดชื่น” อีกประการหนึ่งที่ทำให้ขายดีขึ้นก็คือ การเปลี่ยนมาใช้การบรรจุขวดขาย จากเดิมที่ต้องซื้อโดยการเติมจากหัวเชื้อเท่านั้น ซึ่งเป็นที่สะดวกสบายในการซื้อหาเป็นอย่างมาก ตัวแคนเลอร์เองในตอนแรกนั้นก็ต่อต้านแนวคิดนี้ แต่ภายหลังเขาก็ได้ทำการบรรจุขวดขาย ซึ่งปรากฏว่ายอดขายถล่มทลาย เป็นการเปิดตลาดใหม่จากการบรรจุขวด ทำให้สามารถส่งออกไปขายได้ในทุกๆ ที่ และการบรรจุขวดนี้เองก็ได้นำไปสู่การขยายธุรกิจแฟรนไชส์จนโคคา-โคลามีวางขายในทุกเมืองทั่วสหรัฐอเมริกา ขวดโคคา-โคลาที่มีทรงอันเป็นเอกลักษณ์เป็นที่รู้จักกันดีก็ถูกส่งออกวางขายในปี 1916

โคคา-โคลาต้องเผชิญกับความท้าทายถึงสามประการในช่วงทศวรรษ 1930 ได้แก่ การยกเลิกการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดหลังวิกฤตตลาดหุ้นวอลล์สตรีตในปี 1929 และความแข็งแกร่งของบริษัทคู่แข่งนั่นคือ เป๊ปซี่คอมปะนีหรือเป๊ปซี่โค ผู้ผลิตเครื่องดื่มคู่แข่งที่ชื่อ เป๊ปซี่-โคลา ในเรื่องของการยกเลิกการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อยอดขายของโคคา-โคลา เป็นอย่างมาก ในเมื่อมีเครื่องดื่มที่แรงๆ อย่างเบียร์ และเหล้า แทนที่ของอ่อนๆ อย่างโคคา-โคลา แต่โคคา-โคลาก็ได้สนองความต้องการที่แตกต่างจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมด มันต่างกันก็ตรงที่ โคคา-โคลานั้น คนทุกเพศทุกวัยสามารถดื่มได้ทุกเวลา อีกทั้งยังเป็นหนทางในการหลีกหนีออกจากในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ โฆษณาของโคคา-โคลาจะสื่อถึงภาพชีวิตเปี่ยมสุขปราศจากความกังวล เป็นเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ที่สามารถยืนหยัดแข่งขันกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ เป็นความสุขเล็กๆ น้อยๆ ที่ใครๆ ต่างก็หาซื้อได้แม้ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งมันก็เป็นจริงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ ที่โค้กยังคงเป็นเครื่องดื่มที่สามารถดื่มได้ในทุกเพศทุกวัย และทุกเวลา ดังที่แฮริสัน โจนส์ ผู้จัดการของบริษัทกล่าวไว้ในคำปราศรัยปิดงานฉลองครบรอบ 50 ปีของบริษัทเมื่อปี 1936 ว่า “ต่อให้พลังเหนือธรรมชาติเปลี่ยนผันโลกไปกี่ครั้งโคคา-โคลาก็จะยังอยู่คู่โลก” และคำกล่าวนี้ก็ยังคงใช้จริงในโลกปัจุบันนี้
ปัจจัยนี้ก็ยังได้ส่งผลดีต่อ เป๊ปซี่-โคลา คู่แข่งของโคคา-โคลาเช่นกัน บริษัทคู่แข่งนี้มีกำเนิดนับย้อนหลังไปถึงปี 1894 แต่ภายหลังจากการต้องเผชิญกับการล้มละลายมาสองครั้ง เป๊ปซี่-โคลาก็เพิ่งจะกลายมาเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกับโคคา-โคลาในทศวรรษ 1930 เมื่อมาอยู่ในมือของนักธุรกิจชาวนิวยอร์กชื่อ ชาร์ล กูท ซึ่งเป็นเจ้าของเครือข่ายร้านขายขนมและน้ำพุโซดา เขาซื้อบริษัทเป๊ปซี่-โคลาที่กำลัย่ำแย่ และขายเครื่องดื่มนั้นในร้านของตน ด้วยวิธีการตัดราคาที่ทำให้การบริโภคเป๊ปซี่-โคลาดูจะคุ้มกว่าโคคา-โคลา ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีเรื่องการต่อสู้เรื่องเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ ทำให้ภาพลักษณ์ของเป๊ปซี่-โคลาแตกต่างไปจากโคคา-โคลาอย่างสิ้นเชิง ในขณะที่โคคา-โคลาขึ้นชื่อในเรื่องของ “ความคลาสสิค” เป๊ปซี่-โคลากลับขึ้นชื่อในเรื่องของ “ความใหม่” ที่จะกลายไปเป็นสัญลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ในเวลาต่อมา เพราะตั้งแต่ปี 1963 เป็นช่วงเวลาที่เป๊ปซี่เริ่มนำแนวคิดเรื่อง คนรุ่นเป๊ปซี่ (Pepsi Generation) มาใช้ จากนั้นในปี 1975 เป๊ปซี่พบแนวทางใหม่ที่สำคัญอีกครั้ง ด้วยแนวคิด “ความท้าทายแบบเป็บซี่” (Pepsi Challenge) อันจะเป็นการท้าทายโคคา-โคลา เมื่อเป๊ปซี่ได้ชูประเด็น “รสชาติที่ถูกลิ้นมากกว่า” ของเป๊ปซี่เปรียบเทียบกับรสชาติของโคคา-โคลามาเป็นกลยุทธ์ การท้าทายที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ของเป๊ปซี่ ทำให้โคคา-โคลาขวัญกระเจิงถึงกับเลิกใช้สูตรเดิม แล้วหันไปสร้างนิวโค้กแทน แต่กลับล้มไม่เป็นท่า เพราะสวนทางกับอัตลักษณ์ของโคคา-โคลาอย่างสิ้นเชิง จึงนับว่าการเติบโตของเป๊ปซี่-โคลา ทำให้โคคา-โคลาต้องหันมาปรับปรุงเพื่อการแข่งขันทางการตลาดกันอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

กล่าวถึงโคคา-โคลา ในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นยุคแห่งการต่อสู่เพื่อเสรีภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และเสรีภาพส่วนบุคคล ต่อต้านการกดขี่ต่างๆ ด้วยสงคราม นิวเคลียร์ แต่อย่างไรก็ตามศตวรรษที่ 20 ก็ปิดฉากลงโดยที่ประชากรส่วนใหญ่ในโลกมีความสุขมากกว่าที่เคย และต่างได้รับสิทธิเสรีภาพในการเลือกรูปแบบทางการเมือง เศรษฐกิจ และสิ่งรอบตัวผ่านทางระบอบประชิปไตย

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

โคลา-โคล่า โลกาภิวัตน์แบรนด์ของอเมริกา ตอนที่ 1


ในโลกเราทุกวันนี้อยู่ในยุคของโลกาภิวัตน์ ทุกสิ่งทุกอย่างเต็มไปด้วยเทคโนโลยีและสารสนเทศต่างๆ ที่สามารถติดต่อ เชื่อมโยงกันได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที เกิดแบรนด์ต่างๆ มากมายขึ้นในแต่ละประเทศและหลายๆ แบรนด์ก็ได้สร้างความเป็นเอกลักษณ์ สะท้อนถึงความนิยมของสังคมได้เป็นอย่างดี และหนึ่งในแบรนด์ที่ได้สร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวจนเป็นแรงขับเคลื่อนอเมริกาให้ก้าวไปสู่ยุคโลกาภิวัตน์และกลายเป็นมหาอำนาจชั้นนำของโลกนั้นก็คือ โคคา-โคลา หรือที่นิยมเรียกกันชื่อ โค้ก นั่นเอง

เป็นที่ทราบกันว่าอิทธิพลของโค้กนั้นมีมากมาย ได้รับความนิยมแพร่หลายไปจนทั่วโลก แทบไม่มีชาติใดที่จะไม่รู้จักเครื่องดื่มน้ำดำชนิดนี้ การเติบโตของโค้กนั้นเริ่มต้นมาจากดินแดนสหรัฐอเมริกา ประเทศเกิดใหม่ที่ต้องการความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพ และความเป็นลัทธินิยมสมัยใหม่ ซึ่งโค้กนั้นก็เหมาะสมที่มารับในตำแหน่งนี้ โค้กคือ ผู้นำเทรนด์ของอเมริกาและของโลกตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงในปัจจุบัน เหมือนอย่างที่บารัค โอบามา ที่เชื่อว่า Change และ Hope คือ หนทางที่นำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า จนกระทั่งคำว่า Change กลายเป็นเทรนด์ไปแล้วนั่นเอง ซึ่งต้นกำเนิดและเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของโค้กซึ่งเติบโตควบคู่ไปกับการเจริญไปสู่ข้างหน้าของสหรัฐอเมริกาเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ซึ่งทำให้เห็นถึงบทบาทของโค้กที่มีต่อโลกโดยผ่านสหรัฐอเมริกาอเมริกาได้ชัดเจนขึ้น

แม้ลัทธิอุตสาหกรรมและลัทธิบริโภคนิยมจะถือกำเนิดขึ้นในอังกฤษ แต่มันไปเฟื่องฟูอย่างเต็มที่ในสหรัฐอเมริกา กุญแจความสำเร็จนั้นมาจากวิถีผลิตในระบบอุตสาหกรรมแบบใหม่ที่ชาวอเมริกันคิดค้นขึ้น ย้อนกลับไปในสมัยก่อนอุตสาหกรรม ชาวอังกฤษพัฒนาระบบอุตสาหกรรมที่แบ่งการผลิตออกเป็นชิ้นๆ และพยายามอาศัยเครื่องจักรเข้ามาช่วยประหยัดแรงงาน แต่ระบบของชาวอเมริกันกลับมีความก้าวหน้ายิ่งกว่า พวกเขาได้จัดการแยกการผลิตและการประกอบชิ้นส่วนออกจากกัน นำเครื่องจักรเฉพาะด้านมาผลิตชิ้นส่วนพื้นฐานสำหรับนำไปประกอบในผลิตภัณฑ์ ระบบนี้เริ่มขึ้นจากการผลิตปืน ก่อนจะไปปรากฏในการทำจักรเย็บผ้า จักรยาน รถยนต์ และสินค้าอื่นๆ สิ่งเหล่านี้ได้สร้างรากฐานอุตสาหกรรมในสหรัฐให้แข็งแกร่ง เพราะสามารถผลิตสินค้าได้คราวละมากๆ อันเป็นระบบที่เหมาะกับสินค้าบริโภคสำหรับตลาดและปูทางไปสู่ลัทธิบริโภคนิยมที่จะกลายเป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตแบบอเมริกัน ประกอบกับสภาพของอเมริกาในศตวรรษที่ 19 นั้นเหมาะสมกับการพัฒนาของลัทธิบริโภคนิยม อเมริกามีวัตถุดิบมากมาย มีแรงงานทักษะสูง และเปิดโอกาสให้แรงงานไร้ฝีมือเข้าไปทำงานกับเครื่องจักรได้ไม่แพ้นายช่างเลย นอกจากนี้ประเทศใหม่ที่ยังคงไร้ซึ่งวัฒนธรรมอย่างสหรัฐอเมริกายังไม่มีปัญหาเรื่องค่านิยมในถิ่นฐานหรือค่าบรรทัดฐานเหมือนอย่างในยุโรป ทำให้สามารถผลิตสินค้าปริมาณมากออกไปขายได้ทั่วประเทศ โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับความนิยมของลูกค้าแต่ละกลุ่ม (และนี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ว่า ทำไมวงการหนังฮอลลีวูดจึงได้รับความนิยมสูงสุดจากคนทั่วทั้งโลก - ผู้เขียน) ตลาดของอเมริการุดหน้าไปอย่างรวดเร็วจนอังกฤษต้องหันมาพึ่งเครื่องจักรจากอเมริกา ครั้นถึงปี 1900 อังกฤษก็ต้องสูญเสียตำแหน่งประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกให้แก่สหรัฐอเมริกาความก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งของอเมริกานี่เอง ที่กำหนดให้โค้กได้ช่วยในการให้อเมริกาก้าวไปสู่ความเป็นประเทศผู้นำระดับโลกได้

ต้นกำเนิดของโค้ก ซึ่งรวมไปถึงน้ำอัดลมยี่ห้อทั้งหลายนั้นต่างพัฒนามาจากโจเซฟ เพรสต์เลย์ นักบวชและนักวิทยาศาตร์ชาวอังกฤษคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกในโรงเบียร์เมืองลีดส์เมื่อปี 1767 ซึ่งเขาได้สงสัยถึงที่มาของก๊าซที่ปรากฏเป็นฟองอยู่ในถังหมักเบียร์ และได้ค้นพบว่าก๊าซนี้หนักกว่าอากาศ เขาได้ทดลองเทน้ำสลับแก้วอย่างรวดเร็วเหนือถังหมัก จนก๊าซถูกผสมเข้ากับน้ำ เกิดเป็นน้ำรสซ่าที่น่าพอใจ(ซึ่งปัจจุบันก๊าซชนิดนี้คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ และน้ำที่เพรสต์เลย์ค้นพบก็คือน้ำโซดา) ต่อมาเขาได้ค้นพบกรรมวิธีทำน้ำโซดาที่ง่ายกว่าเดิม ด้วยการทำปฏิกิริยาเคมีให้เกิดก๊าซในขวดหนึ่ง แล้วเทมันลงไปในขวดอีกใบที่ใส่น้ำพร้อมอยู่แล้ว เมื่อก๊าซไหลลงมาอยู่ในขวดที่สองมากพอ ก็เขย่าขวดให้น้ำและก๊าซผสมกัน จนบรรดานักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเพรสต์เลย์ได้ค้นพบสิ่งที่มีสรรพคุณทางการแพทย์

แม้เพรสต์เลย์จะเป็นผู้ค้นพบการทำน้ำโซดา แต่ผู้ที่นำการค้นพบนี้ไปสร้างเป็นกำไรคนแรกกลับเป็น โทมัส เฮนรี นักเคมีและเภสัชกรชาวแมนเชสเตอร์ โดยเขาได้ผลิตน้ำอัดลมออกวางขายเป็นยาในช่วงต้นทศวรรษ 1770 เขาติดตามความพยายามเรื่องการผลิตน้ำแร่ขึ้นเองอย่างใกล้ชิด และเชื่อว่ามันมีผลดีต่อสุขภาพ ช่วยแก้ไข้ โรคบิด อาการคลื่นไส้อาเจียน และอื่นๆ เขาผลิตโซดาได้มากถึงคราวละ 12 ขวด อีกทั้งยังเสนอให้ดื่มผสมกับน้ำมะนาวซึ่งเกิดจากการผสมน้ำ น้ำตาล และน้ำมะนาว จึงอาจกล่าวได้ว่า เขาเป็นผู้บุกเบิกการขายน้ำหวานรสซ่าที่ผ่านการอัดลม

ในขณะที่น้ำซ่ารสต่างๆ กำลังได้รับความนิยมไปทั่วยุโรปนั้น ในสหรัฐอเมริกาก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน และอาจมีมากกว่าเสียด้วย โดยจอห์น แมตทิวส์ อดีตคนขายน้ำโซดาในอังกฤษที่ได้อพยพมาสู่นิวยอร์ก ในช่วงแรกนั้นแมตทิวส์สนใจแต่การผลิตและขายโซดาของตน ก่อนจะหันไปเอาดีด้านน้ำพุโซดา แต่เมื่อลูกชายของเขาได้เข้ามาร่วมสานต่อธุรกิจ แมตทิวส์จึงได้ถือโอกาสขยายกิจการออกไป ลูกชายของเขาซึ่งสนใจเรื่องการประดิษฐ์ได้สร้างเครื่องจักรที่สามารถผลิตน้ำโซดาได้โดยอัตโนมัติ นับตั้งแต่การสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ จนถึงการสร้างขวด และยังได้ขายเครื่องจักรเหล่านี้แก่บริษัทอื่นๆ ด้วย พอถึงปี 1877 บริษัทของแมตทิวส์ก็เป็นเจ้าของสิทธิบัตรกว่าร้อยรายการและขายเครื่องจักรได้กว่า 20,000 เครื่อง นับเป็นตัวอย่างการผลิตสินค้าคราวละมากๆ ในแบบอเมริกัน ที่มีเครื่องมือเฉพาะอย่างคอยทำการผลิตในแต่ละขั้นตอน ขวดและฝาปิดถูกผลิตให้มีขนาดมาตรฐานเป็นชิ้นส่วนที่สามารถผลิตขึ้นคราวทีละมากๆ สำหรับใช้ต่อไปได้เรื่อยๆ จนเกิดเป็นเครื่องดื่มซึ่งสามารถผลิตได้ในปริมาณมหาศาลในราคาถูกแสนถูก เพื่อตอบสนองความต้องการของมวลชน

โซดาที่มีกำเนิดมาจากการเป็นยามาก่อนที่จะแพร่หลายออกไปในฐานะเครื่องดื่มดับกระหาย สรรพคุณความเป็นยาช่วยให้มันได้รับการยกย่อง นับตั้งแต่ปี 1809 ตำราเคมีของอเมริกาบรรจุข้อความไว้ว่า “น้ำโซดาช่วยดับกระหายได้ดียิ่ง มันเป็นเครื่องดื่มในดวงใจของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะผู้ที่รู้สึกร้อนและเหนื่อยล้า” นอกจากดื่มกันเพียวๆ แล้ว ยังสามารถนำโซดาไปผสมกับน้ำมะนาวให้มีรสซ่า (ซึ่งน่าจะเป็นเครื่องดื่มสมัยใหม่ชนิดแรกของโลกที่มีรสซ่า) นอกจากนั้น ในต้นศตวรรษที่ 19 ผู้คนจากทั้งสองฟากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกยังเริ่มผสมโซดาเข้ากับไฟด้วย เรียกว่า ไวน์สปริตเซอร์ (Wine Spritzer) และต่อมาน้ำโซดาในสหรัฐอเมริกาก็มักถูกแต่งรสด้วยน้ำเชื่อมเป็นหลัก

น้ำโซดาที่ผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรมนั้น เป็นที่นิยมดื่มในทุกชนชั้น ไม่ว่าจะจนหรือรวย จนดูเหมือนจะเป็นตัวแทนจิตวิญญาณอเมริกันอันเยี่ยมยอด ดังที่แมรี่ เกย์ ฮัมเฟร์ นักประพันธ์และนักวิจารณ์สังคมเขียนไว้ในวารสารฮาร์เปอร์วีกลี่ ฉบับปี 1891 ว่า “น้ำโซดาซึ่งผู้คนทุกชนชั้นต่างเข้าถึงได้ถ้วนหน้า ช่างเหมาะสมกับการเป็นเครื่องดื่มประจำชาติเราจริงๆ” จะเห็นได้ว่า แนวคิดการนำเครื่องดื่มมาเป็นสัญลักษณ์ประจำชาตินั้น มีขึ้นมาตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างอเมริกาในช่วงแรกๆ แล้ว แต่ก็ถูกเพียงครึ่งเดียว เนื่องจากน้ำโซดาเป็นเพียงส่วนประกอบส่วนหนึ่งของเครื่องดื่มประจำชาติอเมริกาที่แท้จริงที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อจากนี้เท่านั้น

เครื่องดื่มประจำชาติอเมริกาที่ว่านั้นก็คือโคคา-โคลา หรือ โค้ก นั่นเอง โดยผู้ให้กำเนิดเจ้าน้ำดำชนิดนี้คือ จอห์น เพมเบอร์ตัน (John Smith Pemberton) ซึ่งการค้นพบเครื่องดื่มน้ำดำรสซ่าของเขานี้ถือเป็นความบังเอิญ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า สิ่งที่ดังและมีชื่อเสียงต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีที่มาจากความบังเอิญแทบทั้งสิ้น เรื่องก็มีอยู่ว่า เขาพยายามอย่างยิ่งที่จะหาทางรักษาอาการปวดหัว ก็ได้ผสมยาต่างๆ เรื่อยมาจนในวันหนึ่งที่เป็นวันแห่งการค้นพบ ในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1886 ณ สนามหญ้าหลังบ้านของเขา ที่เมืองแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย โดยนำส่วนผสมต่างๆ อันประกอบไปด้วย น้ำมะขาม อบเชย ใบโคคา และเมล็ดโคลาคลุกเคล้าลงในหม้อจนได้ของเหลวสีคาราเมล จากนั้นนั้นเขาก็นำไปให้ยังร้านขายยาที่อยู่ใกล้ๆ กันได้ลองชิม ซึ่งทุกคนต่างชอบในรสชาติที่รู้สึกดีของมัน แล้วยังมีการเอาไปแช่เย็นก็พบว่ารสชาติยิ่งอร่อยขึ้น และท้ายสุดก็ได้นำน้ำโซดาผสมลงไปจนกลายเป็นเครื่องดื่มที่ชูกำลังที่มีรสชาติหวานและซู่ซ่า เป็นจุดกำเนิดเริ่มต้นของเครื่องดื่มน้ำดำชนิดนี้ (ก่อนที่จะมาเป็นชื่อโคคา-โคล่านี้ เดิมทีมันชื่อว่า ไวน์โคคาแบบฝรั่งเศส (French Wine Coca)
หลายคนอาจจะเกิดความสงสัยว่า เจ้าส่วนผสมที่เรียกว่าโคคาและโคลานั้น มันคืออะไร มีที่มาจากไหนกันแน่ ซึ่งโคคานั้นก็เป็นชื่อของต้นโคคา มีถิ่นกำเนิดที่อเมริกาใต้ ได้ยินชื่อแล้วอาจจะคุ้นก็เนื่องจากสารที่อยู่ในใบโคคานี่แหละที่นำมาทำเป็นโคเคน การเคี้ยวใบโคคาก็เหมือนกับการได้รับโคเคนไปจำนวนหนึ่งเลยทีเดียว แต่มีการแยกสกัดสารโคเคนออกจากใบโคคาได้ในปี 1855

ส่วนโคลา มันก็คือต้นโคลา ถิ่นกำเนิดคือแอฟริกาตะวันตก โดยแยกสารสกัดออกจากเมล็ดโดยเฉพาะในต้นอ่อน ของต้นโคลา ซึ่งสารสกัดที่ได้มานั้น มันก็คือสาระสำคัญที่อยู่ในกาแฟ คาเฟอีนนั่นเอง



(To be continue)



วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

The History of Thai Food


Thai food is internationally famous. Whether chilli-hot or comparatively bland, harmony is the guiding principle behind each dish. Thai cuisine is essentially a marriage of centuries-old Eastern and Western influences harmoniously combined into something uniquely Thai. Characteristics of Thai food depend on who cooks it, for whom it is cooked, for what occasion, and where it is cooked. Dishes can be refined and adjusted to suit all palates.


Originally, Thai cooking reflected the characteristics of a waterborne lifestyle. Aquatic animals, plant and herbs were major ingredients. Large chunks of meat were eschewed. Subsequent influences introduced the use of sizeable chunks to Thai cooking. With their Buddhist background, Thais shunned the use of large animals in big chunks. Big cuts of meat were shredded and laced with herbs and spices. Traditional Thai cooking methods were stewing and baking, or grilling. Chinese influences saw the introduction of frying, stir-frying and deep-frying. Culinary influences from the 17th century onwards included Portuguese, Dutch, French and Japanese. Chillies were introduced to Thai cooking during the late 1600s by Portuguese missionaries who had acquired a taste for them while serving in South America. Thais were very adapt at "Siameseising" foreign cooking methods, and substituting ingredients. The ghee used in Indian cooking was replaced by coconut oil, and coconut milk substituted for other dairy products.

Overpowering pure spices were toned down and enhanced by fresh herbs such as lemon grass and galanga. Eventually, fewer and less spices were used in Thai curries, while the use of fresh herbs increased. It is generally acknowledged that Thai curries burn intensely, but briefly, whereas other curries, with strong spices, burn for longer periods. Instead of serving dishes in courses, a Thai meal is served all at once, permitting diners to enjoy complementory combinations of different tasters.

A proper Thai meal should consist of a soup, a curry dish with condiments, a dip with accompanying fish and vegetables. A spiced salad may replace the curry dish. The soup can also be spicy, but the curry should be replaced by a non-spiced item. There must be harmony of tastes and textures within individual dishes and the entire meal.

by ThaiGrocer

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

Kinpiragobo - Named After a Son of Kintaro



Most Japanese people upon hearing the word kinpira probably imagine kinpiragobo (fried burdock root). Kinpira, however, is originally a type of stir-fry prepared with sugar, soysauce, and sake and seasoned with cayenne pepper . Besides gobo (burdock root), kinpira can be made with other foods such as udo, shirataki (noodles made from devil's tongue starch), bamboo shoots, carrots, and lotus root.

From the department store food floors to convenience stores, kinpira can always be found in the prepared food sections of the stores. Before the Pacific War, it seems that kinpiragobo was the first thing to come to mind when the phrase "prepared food" was mentioned. This kinpira made its appearance in a document of around the Bunsei era (1818 to 1830) in the latter half of the Edo period. However, it appears that kinpira was not fried in oil back then.

Be that as it may, where did this slightly odd-sounding name of kinpira come from?

Kinpira was taken from the personal name of Sakata no Kinpira. Sakata no Kintoki who was one of the "four heavenly kings" serving under Minamoto no Yorimitsu and is even better known as the model for legendary child Kintaro with an ax on his shoulder. Possessed of prodigious strength, Kinpira was a hero that used his supernatural strength to distinguish himself in serveral military exploits. Kinpira was extremely courageous, but on the other hand, he was completely innocent at heart and also absentminded at times. Kinpira became a popular figure during the Edo period because this gap between his enormous strength and personality appealed to the common people of that time.

That being said, this Kinpira was merely a character in a joruri (a narative chanted to the accompaniment of shamisem music) and was not a person that actually existed.

So, why did this popular character in the narrative become the name of a dish? It's because it is a fairly tough food. The burdock root in kinpiragobo is very hard and has a spicy taste. That is, because the food seemd to be just like the great hero Sakata no Kinpira, kinpiragobo was named after him.

It's probably because people show interest in food named after heroes like children nowadays are attracted to so-called Ranger Sausages and so on. The people back then borrowed the name of Sakata no Kinpira to catch onto his popularity.



From JAPAN CLOSE-UP November 2009